Low of computer

บทความ
ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายคอมพิวเตอร์
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟเเวร์
สาระน่ารู้เกี่ยวกับกฏหมายคอมพิวเตอร์

กฏหมายคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ปี 2554

มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า ผู้ดูแลระบบ คือ
 ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต 
โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์
ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
 ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า ผู้ดูแลระบบ ขึ้นมานี้ 
ความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย
 แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก
 ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด

2. คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี

มาตรา16 เพิ่มมาว่า ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวา
งโทษจำคุกไม่เกินสามปี
 หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์
 การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้มีไว้ใช้เอาผิ
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่การเขียนเช่นนี้อาจ
กระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์น
โหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า แคช”  ซึ่งผู้
ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

มาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลา
มกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี 
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อ
ความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่น
คงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ
กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน  มาจากความพยายามเอาผิดกรณี
การทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอก
เอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า
การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนว
คิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า 
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ใหม่ เป็นเรื่องการเขียนเนื้อหา
อันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท 
ร่างนี้ได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่น
คงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด 
ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5. ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่ว
ไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ
ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่
น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง 
หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อ
มูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็น
จำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการ
ค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือ
แจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้ง นี้ ยังต้องตั้ง
ข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อน
รำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้

7. เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำ
ให้แพร่หลายโดยประการใดซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง
 หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา
 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

 กรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี 
 หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
9. ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่าง กฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทา
งอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า สพธอ. และให้ใช้ชื่อเป็น
ภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency 
(Public Organization)”เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภาย
ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที
10. ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่าง กฎหมายนี้เพิ่มกลไกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำ
ความผิดทาง คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ 
วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดย
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อย
คำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง ปฏิบัติการอื่นใด เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ 
โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น