ติวสอบ o-net
ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้
เลขฐานสอง
เลขฐานสอง หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด ไม่ใช่กับใช่ เท็จกับจริง ซ้ายกับขวา เป็นต้น
ถ้าแปลงค่าเลขฐานสิบ มาเป็นเลขฐานสอง จะได้ดังนี้
- 0 = 0000
- 1 = 0001
- 2 = 0010
- 3 = 0011
- 4 = 0100
- 5 = 0101
- 6 = 0110
- 7 = 0111
- 8 = 1000
- 9 = 1001
- 10(A) = 1010
- 11(B) = 1011
- 12(C) = 1100
- 13(D) = 1101
- 14(E) = 1110
- 15(F) = 1111
ในปัจจุบันเลขฐานสองเป็นพื้นฐานในการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยนำเอาหลักการของเลขฐานสอง (สถานะไม่มีไฟฟ้า และ สถานะมีไฟฟ้า) มาใช้ในการสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีหน่วยประมวลผลแบบ 32 หรือ 64 บิต หรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการประมวลผลแบบดิจิทัล
ผังงาน
ผังงาน หรือ โฟลว์ชาร์ต เป็นแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เชื่อมกันเป็นลำดับขั้นตอนด้วยลูกศร
จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดแสดงด้วยรูปวงกลม รูปวงรี หรือรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ภายในนิยมใช้คำว่า "Start" สำหรับจุดเริ่มต้น และ "End" สำหรับจุดสิ้นสุด
ลูกศรเป็นเส้นทางการทำงานของโปรแกรม
ประมวลผลใช้กล่องสีเหลี่ยม ภายในเขียนคำสั่งต่างๆ
รับค่าเข้า และแสดงผลใช้กล่องสี่เหลี่ยมด้านขนาน ยกตัวอย่างเช่น ภายในเขียน "Get X" เพื่อรับค่า X; เขียน "Display X" เพื่อแสดงผลค่า X
ตัดสินใจใช้กล่องสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และภายในเขียนประโยคที่มีค่าความจริง เป็น "จริง" หรือ "เท็จ" และแบ่งลูกสรออกเป็น 2 ข้างคือ เส้นทางการทำงานเมื่อ ประโยคดังกล่าวเป็น "จริง" และ เส้นทางการทำงานเมื่อประโยคดังกล่าวเป็น "เท็จ"
ตัวอย่างผังงาน